2529 – 2538 ช่วงแห่งการปรับตัว ยังคงค้นคว้าสำรวจวิจัยต่อ เริ่มมีบทบาทในฐานะเป็นแหล่งความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี Download Document

เริ่มบทบาทแหล่งความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี

งานโบราณคดีในประเทศไทยอาจเรียกได้ว่าเพิ่งผ่านพ้นช่วงเริ่มต้นมาเท่านั้น ยังคงต้องปรับตัวกับระบบใหม่ มีการปรับเพิ่มเติมหลักสูตร มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่อง แม้บรรยากาศวิชาการจะไม่คึกคักเท่าช่วงที่ผ่านๆ มา แต่ก็ยังมีผลงานวิชาการต่างๆ ออกมาเป็นระยะ มีงานอบรมภาษาให้แก่บุคคลภายนอกของภาควิชาภาษาตะวันตกที่ริเริ่มขึ้นในช่วงเวลานี้ มีแนวคิดในด้านการรวบรวมและเผยแพร่ความรู้จากการเสนอจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง รวมทั้งนักศึกษาก็ได้เริ่มต้นดำเนินงานเปิดค่ายอบรมต่างๆ ขึ้นมา เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนได้เห็นความสำคัญของแหล่งศิลปวัฒนธรรมตั้งแต่ยังอยู่ในวัยที่เปิดรับต่อการเรียนรู้ ประชาชนทั่วไปเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมทางวัตถุและประวัติศาสตร์ของตนเอง เริ่มมีการถกเถียง ตั้งคำถาม เรียกร้อง ในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังเช่น กรณีของศิลาจารึกหลักที่ 1 และทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ คณะโบราณคดีจึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และมีโอกาสที่จะเป็นผู้เผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชน 

2529

2530

เริ่มจัด โครงการค่ายเยาวชนทางโบราณคดี หรือค่ายใหญ่ ดำเนินการโดยคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี เป็นกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านโบราณคดีโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา มีกิจกรรมหลักในการสร้างจิตสำนึกส่งเสริมความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม โดยการออกไปทำความรู้จักและเห็นของจริงจากแหล่งโบราณดคี โบราณสถานสำคัญๆ ในต่างจังหวัด ซึ่งต่อมาค่ายเยาวชนทางโบราณคดีได้ปรับเปลี่ยนมาดำเนินการโดยชมรมอนุรักษ์ศิลปะ โบราณคดี และวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยผู้รับผิดชอบโครงการและสมาชิกส่วนใหญ่ยังเป็นนักศึกษาคณะโบราณคดี

2531

2532

2533

โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมบริเวณลุ่มแม่น้ำตอนล่าง จังหวัดกาญจนบุรี โดย อาจารย์รัศมี ชูทรงเดช ภาควิชาโบราณคดี ทำการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีถ้ำแล่งกำนัน และแหล่งโบราณคดีไร่อานนท์ บริเวณ อ. เมือง จ. กาญจนบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2533-2534

2534

จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง อ. บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ขึ้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน เนื่องในวโรกาสมหามงคงสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2535 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นับเป็นตัวอย่างการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างดี เริ่มดำเนินการก่อสร้างและแล้วเสร็จในปี 2535 

คณะอาจารย์จากภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับทางกรมศิลปากร ทำการวิจัย “โครงการขุดค้นเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อ. กมลาไสย จ. กาฬสินธุ์” พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยอยุธยา กำหนดอายุสัมบูรณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ราวพุทธศตวรรษที่ 3-23

หนังสือ เพศและวัฒนธรรม ผลงานด้านมานุษยวิทยาที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของ ศ. ปรานี วงษ์เทศ เป็นการรวบรวมบทความทางมานุษยวิทยาเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจเรื่องของความแตกต่างทางเพศและวัฒนธรรมจากแง่มุมของผู้หญิง ที่มีรากเหง้าจากวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นพื้นฐานถึงร่องรอยความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

2535

2536

งานเทศกาลหนังกลางแปลง ของนักศึกษาคณะโบราณคดี ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน น่าจะเริ่มขึ้นราว พ.ศ. 2536 โดยใช้บริเวณสนามบาสของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นที่จัดแสดง โดยมีต้นเค้าของการฉายภาพยนตร์เป็นงานหาทุนประกอบกิจกรรมของนักศึกษามาก่อนแล้วในปี 2509 ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์

2537

เนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนาคณะโบราณคดี 40 ปี คณะโบราณคดี ได้จัดงาน “คืนสู่เหย้า 4 ทศวรรษ โบราณคดี” ขึ้น โดยเป็นโครงการระยะยาวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2537 ถึงพฤษภาคม 2538 ประกอบด้วยการสัมมนาทางวิชาการทางโบราณคดี การจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ของชมรมอนุรักษ์ศิลปะ โบราณคดี และวัฒนธรรมพื้นบ้าน ร่วมกับคณะกรรมการนักศึกษาคณะโบราณคดี และการจัดทัศนศึกษาไปยังสถานที่ต่างๆ โดยมีงาน “คืนสู่เหย้าในวันที่ 25 มิถุนายน 2537”

ค่ายโบราณคดีเพื่อเด็กในชนบท หรือ “ค่ายเด็ก” จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ในตอน “ทอฝันบ้านป่า” ที่ จ. อุทัยธานี วัตถุประสงค์สำหรับการจัดค่ายเด็กเพื่อให้นักศึกษาปีหนึ่งได้มีโอกาสเรียนรู้การทำงานร่วมกัน และทำประโยชน์ต่อสังคมที่ห่างไกล ด้วยการพัฒนาอาคารสถานที่หรือปรับปรุงภูมิทัศน์ให้แก่สถานที่ต่างๆ ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ประเภทโรงเรียน ที่ใช้เป็นสถานที่เรียนหนังสือและพบปะของชุมชน 

2538

จัด โครงการอบรมเยาวชน “รำลึกบรรพบุรุษ” ดำเนินการโดย ชมรมอนุรักษ์ศิลปะ โบราณคดี และวัฒนธรรมพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีหัวหน้าโครงการและสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากคณะโบราณคดี โดยครั้งแรกเป็นการเข้าไปจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ให้กับท้องถิ่น และโดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา เป็นจุดเริ่มต้นของค่ายรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

INFO-GRAPHIC TIMELINE

OF ARCHAEOLOGY FACULTY, SILPAKORN UNIVERSITY

แผนผังภาพแสดงประวัติคณะโบราณคดีแบบเรียงลำดับเวลา