ประเสริฐ ณ นคร
บูรพาจารย์แห่งประวัติศาสตร์งานจารึก
2461
"ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาศิลาจารึก เพราะเห็นว่าเมืองไทยพบจารึกโบราณก็ต้องส่งไปให้ ศาสตราจารย์เซเดส์ อ่าน ตอนนั้นท่านแก่มากแล้ว ถ้าท่านตาย หมายความว่าจะไม่มีใครอ่านจารึกที่ค้นพบใหม่เลยละหรือ ข้าพเจ้าเห็นว่าคนไทยจะต้องอ่านจารึกให้ได้ ถ้าไม่มีคนไทยคนอื่นอ่านได้ ข้าพเจ้าจะต้องอ่านจารึกให้ได้เอง"
- ประเสริฐ ณ นคร -
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2461 ที่ จ.แพร่ เป็นบุตรคนที่ 2 ใน 8 คนของนายบุญเรือง กับนางกิมไล้ ณ นคร สมรสกับนางสาวเยาวลักษณ์ สีละชาต มีบุตรชื่อนายปิยพร และสมรสกับนางสาวสมทรง โหตระกิตย์ มีบุตรชื่อนางสาวเสมอใจ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ศึกษาที่โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ในระดับประถมศึกษา ระดับระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ และเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 – 8 ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาในระดับมศึกษาระดับมัธยมมัธยมศึกษาปีที่ 8 อีกครั้งที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ
พ.ศ.2481 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิศวกรรมเกษตร จากมหาวิทยาลัย
พิลิปปินส์
พ.ศ.2486 สำเร็จการศึกปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต
พ.ศ.2500 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก ทางด้านสถิติจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ปี พ.ศ.2516 ได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาประวัติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2518 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2527 ได้รับปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2528 ได้รับปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2535 ได้รับ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2540 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางด้านดนตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในด้านการศึกษาของชาติหลายตำแหน่ง อาทิเช่น รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รักษาการเลชาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ รักษาการรองเลขาธิการฝ่ายสังคมศาสตร์สภาวิจัยแห่งชาติ รักษาการหัวหน้าส่วนรายได้ประชาชาติ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจฯ รวมถึงปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาประวัติศาสตร์ ภาษาถิ่นไทย การอ่านศิลาจารึก ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมกับเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยศิลปากร
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร กับงานด้านศิลาจารึก
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้บรรยายเรื่อง “ศิลาจารึกกับข้าพเจ้า” ไว้ในหนังสือ งานจารึกและประวัติศาสตร์ของประเสริฐ ณ นคร ไว้ว่า ท่านเริ่มการอ่านจารึกจากการที่ท่านไปร่วมงานสัมมนาทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับด้านจารึกงานหนึ่งซึ่งนักธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นเป็นผู้ชักชวน ในงานนั้นได้เกิดข้อสงสัยทักท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของคำแปลในศิลาจารึกหลักที่ 3 จึงทำให้อาจารย์ประเสริฐ เริ่มศึกษาในด้านศิลาจารึกอย่างจริงจัง
ครั้งหนึ่งอาจารย์ประเสริฐ ได้ตรวจสอบความถูกต้องของคำแปลในศิลาจารึก และได้ส่งคำแปลบางส่วนซึ่งแก้ขึ้นใหม่ของศิลาจากรึกหลักที่ 8 ไปให้ ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ พิจารณา ซึ่งท่านก็เห็นพ้องด้วย ซึ่งเป็นอีกแรงพลักดันหนึ่งที่ส่งผลให้ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ค้นคว้าในด้านศิลาจารึก อย่ายจริงจัง ดังข้อความด้านล่างนี้
“ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ เป็นนักปราชญ์ยิ่งใหญ่ ที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้ที่ไม่เคยปรากฏผลงานด้านจารึกมาก่อนเลย และผลสำเร็จครั้งนี้ผลักดันให้ข้าพเจ้าซึ่งเคยสอบภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ในชั้นมัธยมหกได้เพียง 8 คะแนนจากคะแนนเต็ม 60 คะแนน ศึกษาค้นคว้าอ่านศิลาจารึกอย่างจริงจังมาถึงทุกวันนี้”
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นอาจารย์สอนพิเศษ ในคณะโบราณคดี วิชาการอ่าจารึก ในชั้นปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2512 จากคำชักชวนของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล โดยท่านมีหลักการสอนที่แตกต่างจากอาจารย์ท่านอื่นๆ ในขณะนั้น ที่มักจะถือหลักว่า จารึกนั้นสอนกันไม่ได้ ต้องศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งมักจะทำให้นักศึกษาท้อเสียก่อน ท่านจึงปรับเปลี่ยนให้ นักศึกษาอ่านอักษรของประเทศลาว ซึ่งคล้ายกับไทยก่อน แล้วจึงให้อ่านจารึกของพระเจ้าลิไทย จารึกของพ่อขุนรามคำแหง และหัดเขียนอักษรธรรม แล้วจึงให้อ่านจารึกอักษรขอม และจารึกโบราณอื่นๆ ซึ่งยากที่สุด เป็นการฝึกหัดจากง่ายไปหายาก
อาจารย์ประเสริฐ เป็นคนที่มีความมุมานะอย่างยิ่ง ซึ่งอีกครั้งหนึ่งที่ท่านได้เล่าให้ฟังถึงการที่ท่านเข้ามาศึกษาในด้านจารึก ดังนี้
“ข้าพเจ้าเริ่มศึกษาศิลาจารึก เพราะเห็นว่าเมืองไทยพบจารึกโบราณก็ต้องส่งไปให้ ศาสตราจารย์เซเดส์ อ่าน ตอนนั้นท่านแก่มากแล้ว ถ้าท่านตาย หมายความว่าจะไม่มีใครอ่านจารึกที่ค้นพบใหม่เลยละหรือ ข้าพเจ้าเห็นว่าคนไทยจะต้องอ่านจารึกให้ได้ ถ้าไม่มีคนไทยคนอื่นอ่านได้ ข้าพเจ้าจะต้องอ่านจารึกให้ได้เอง”
งานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
อาจารย์ประเสริฐเป็นผู้ริเริ่มสอนภาษาถิ่นเหนือขึ้นเป็นครั้งแรกที่ภาควิชาสาขาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสนับสนุนให้มีการสอนภาษาไทยถิ่นต่างๆ ตลอดจนภาษาของชนเผ่าไทยนอกประเทศไทย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยภาษาตระกูลไทยและเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ความหมายของศัพท์ภาษาไทย ในศิลาจารึกและวรรณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาภาษาถิ่นไปช่วยในการอ่านศิลาจารึกและวรรณคดีที่สาคัญ เช่น ลายสือไทย ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไทย เล่าเรื่องในไตรภูมิพระร่วง โองการแช่งน้า การสืบค้นภาษาไทยในเมืองจีน เป็นต้น และยังเป็นผู้ริเริ่มนำวิชาคำนวณโหราศาสตร์ ไปช่วยอ่านศิลาจารึกที่สาคัญ เช่น เกร็ดความรู้จากศิลาจารึก เรื่องเกี่ยวกับศิลาจารึกของสุโขทัย ศักราชในจารึกสมัยสุโขทัย จารึกประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และเผยแพร่ผลงานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยเฉพาะในด้านจารึกศึกษา ไว้มากมายจนถึงปัจจุบัน เช่น การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย, กำหนดอายุจารึกชาดกวัดศรีชุม, โคลงนิราศหริภุญชัย, ตำนานมูลศาสนาเชียงใหม่และเชียงตุง, วันสร้างกรุงศรีอยุธยา, ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก, ประวัติศาสตร์ล้านนาจากจารึก, ความคลี่คลายแห่งประวัติศาสตร์ไทย, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก, สามัคคีธรรมสามกษัตริย์ เป็นต้น